วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ตำบลหนองพันทา


ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
ตำบลหนองพันทา
           
           1 . สำรวจเบื้องต้น (Preliminary  Investigation)
   มีการเผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับตำบลหนองพันทาเป็นคนแรก ทั้งเพจ (Facebook), Twitter, Blogger และ Youtube
   ปัญหา คือ ตำบลไม่ค่อยมีเหตุการณ์หรือข่าวเพียงพอต่อการนำมาเขียนข่าวได้
   การคาดคะเน  ระบบสารสนเทศของตำบลมีทิศทางที่จะพัฒนาต่อไปและสามารถเป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านตำบลหนองพันทาในภายภาคหน้า
                2.วิเคราะห์ความต้องการ (Requirement  Analysis)
   ต้องการนำเสนอข่าวให้ชาวบ้านตำบลหนองพันทาหรือพื้นที่ใกล้เคียงได้รับรู้ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นรวมถึงสร้างความเข้าใจในด้านการรับข้อมูล ข่าวสารโดยทั่วกัน
-                   การใช้งานด้านเพจ (Facebook) มีคนให้ความสนใจมากพอสมควร การเผยแพร่ข่าวถือว่าประสบความสำเร็จ
   ข้อเด่น  ง่ายต่อการใช้งาน การเขียนข่าวได้เยอะมีทั้งภาพประกอบ
   ข้อด้อย   บางครั้งคนไม่ค่อยสนใจจะอ่านข่าว
-                   การใช้งานด้าน  Twitter  พื้นที่การเขียนข่าวสั้น  กระชับ  เหมาะแก่การนำเสนอข่าวในเวลารีบเร่ง และทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย
ข้อเด่น  การเขียนข่าวสั้น กระชับ ชัดเจน
ข้อด้อย  เมื่อเขียนข่าวผิดต้องลบออกอย่างเดียว  แก้ไขไม่ได้
-                   การใช้งานด้าน  Blogger  มีความเป็นระเบียบ ลำดับขั้นตอน สามารถแก้ไขข้อมูลได้เมื่อเกิดการผิดพลาด
ข้อเด่น  การตกแต่งหน้าบล็อกได้ ทั้งรูปภาพ เสียง วีดีโอ
ข้อด้อย  ยากจะเข้าถึงต้องคลิกไปเรื่อยๆ น่าเบื่อ
-                   การใช้งาน  Youtube  ผู้คนให้ความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะมีทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน
                 ข้อเด่น  ดึงดูดความสนใจจากผู้พบเห็นได้ดี
ข้อด้อย  โฆษณามาคั่นเวลาเยอะเกินไป 
           3. การแสดงผลลัพธ์ 
1.             ออกแบบการแสดงข้อมูลบนจอภาพดูเรียบง่าย  ไม่ซับซ้อน
2.             สำหรับข้อมูลบางอย่างต้องการเน้นให้เห็นความแตกต่าง ใช้สีที่แตกต่างออกไปจากปกติ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ระบบ
3.             การนำเสนอในรูปแบบของตาราง กราฟ  รูปภาพหรือเสียง
   การป้อนข้อมูล
1.             มีการตรวจสอบข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนว่าถูกต้องหรือไม่
2.             ความสมเหตุ สมผลของข้อมูล
3.             รูปแบบที่ป้อนตรงตามที่กำหนดหรือไม่
   การเก็บรักษา
1.             การนำข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่างๆ เช่น  แผ่นบันทึกข้อมูล
2.             การสำเนาข้อมูลเพื่อเก็บรักษาไว้
   การปฏิบัติงาน
1.             วางแผนกลยุทธ์และกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงาน
2.             วิเคราะห์สาเหตุและปัญหาของระบบ
   บุคลากร
1.             ผู้ใช้งาน คือ ผู้ที่นำสารสนเทศไปใช้
2.             ผู้ปฏิบัติงาน  คือ ผู้ที่นำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์
3.             ผู้ควบคุมระบบและพัฒนาโปรแกรม คือ  ผู้ควบคุมฮาร์ดแวร์ เช่น  ควบคุมคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้อย่างราบรื่น
       4.   จัดหาอุปกรณ์ (System  Acquisition)     
1.             การจัดซื้อโปรแกรม aplication สำเร็จรูป วิธีนี้เหมาะแก่ผู้ที่มีทุนเยอะต้องการความสะดวกสบาย
2.             จัดทำระบบสาระสนเทศเอง วิธีนี้เหมาะแก่ผู้ที่มีทุนน้อย แต่ข้อเสียคือ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบที่จัดทำ  เพราะถ้าไม่มีก็ไม่สามารถประเมินได้ระบบที่จัดทำจะสำเร็จหรือไม่ , ใช้เวลานาน
3.             outsourec จ้างตามความต้องการ โดยการจัดหาระบบสารสนเทศประเภทนี้จำเป็นต้องหาผู้เชี่ยวชาญมาออกแบบระบบให้ และจะตรงกับความต้องการของผู้จัดจ้าง และไม่มีปัญหาในการใช้งาน        
    5.  ติตตั้งและบำรุงรักษา (System  Implement and Maintenance)
  การติดตั้งระบบ
1.             การกำหนดตารางเวลา ประเมินโปรแกรม
2.             การใส่รหัสโปรแกรมหรือการเขียนโปรแกรม
3.             การฝึกอบรมผู้ใช้
4.             การสับเปลี่ยนระบบ
   การบำรุงรักษา
1.             เพื่อให้มีความถูกต้องเสมอ
2.             เพื่อปรับเปลี่ยนตามความเปลี่ยนแปลง
3.             เพื่อให้ระบบทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุด
4.             เพื่อการป้องกัน

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ปฐมนิเทศโครงการ "ยิ่งเท่ยิ่งน่ารักเพราะกินโปรตีนผักและผลไม้"


ปฐมนิเทศโครงการ "ยิ่งเท่ยิ่งน่ารักเพราะกินโปรตีนผักและผลไม้"





         เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2558 คณะครูอาจารย์เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ประกอบด้วย อำเภอในจังหวัดบึงกาฬ ได้แก่ อำเภอโซ่พิสัย อำเภอปากคาด เข้าร่วมปฐมนิเทศโครงการ "ยิ่งเท่ยิ่งน่ารักเพราะกินโปรตีนผักและผลไม้" โดยมูลนิธิ EDF ได้ร่วมมือกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ณ โรงเรียนบ้านโนนแก้วโพนทอง ตำบลหนองพันทา เนื่องจากเด็กไทยในปัจจุบันนิยมบริโภคอาหารที่ให้โทษต่อร่างกาย เช่น อาหารสำเร็จรูป ขนบกรุบกรอบ น้ำอัดลม ซึ่งอาหารเหล่านี้ทำให้เด็กขาดสารอาหาร เพราะไม่ได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ

กิจกรรมจักสานโรงเรียนบ้านหนองพันทา


กิจกรรมจักสานโรงเรียนบ้านหนองพันทา



          ครู นักเรียนโรงเรียนหนองพันทา ได้จัดโครงการเสริมสร้างทักษะด้านอาชีพระยะสั้นให้แก่เด็กในวัยเรียน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพันทา อำเภอโซ่พิสัย เพื่อให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้เรื่องงานจักสานกระติบข้าว ตั้งแต่วิธีการเริ่มแรกจนถึงการเย็บเป็นก่องข้าว(คนอีสานเรียกโดยทั่วไป) ซึ่งเป็นอาชีพเด่นของตำบล การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการสนับสนุนจากศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ 76 จังหวัดบึงกาฬ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพันทา ทั้งนี้ โรงเรียนยังได้รับผลงานดีเด่นด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น(การจักสาน) ทั้งระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับภาค

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2558

โครงการกองทุนธนาคารขยะ


โครงการกองทุนธนาคารขยะ






        ชาวบ้านตำบลหนองพันทาร่วมภารกิจพิซิตขยะ เป็นโครงการกองทุนธนาคารขยะที่ให้ทุกหมู่บ้านใน ตำบลได้มีส่วนร่วม ซึ่งทุกสิ้นเดือน ชาวบ้านจะนำขยะไปขายที่ศาลากลางบ้านของแต่ละหมู่บ้าน เพื่อนำเข้าบัญชีที่ อบต. เปิดไว้ให้ โดยไม่จ่ายเป็นเงินสด ทั้งนี้จะมีการตรวจสอบยอดบัญชี ขั้นต่ำ 300 บาทในระยะเวลา 1 ปี เพื่อสนับสนุนให้ทุกคนรักษาความสะอาด ไม่ทิ้งเศษวัสดุเหลือใช้ให้เกลื่อนกลาด และสามารถนำมาขายเพื่อสร้างรายได้เล็กๆน้อยๆให้ครอบครัวด้วย โครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเป็นอย่างมาก

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558

งานบุญทอดเทียนพรรษา บ้านโนนโพธิ์ศรี


งานบุญทอดเทียนพรรษา  บ้านโนนโพธิ์ศรี




    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 ชาวบ้านแห่มางานประเพณีทอดเทียนพรรษา ณ วัดโนนโพธิ์ บ้านโนนโพธิ์ศรี ตำบลหนองพันทา ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป เพื่อสืบทอดประเพณีอันเก่าแก่ของคนอีสาน ซึ่งในงานมีทั้งการขับร้องสารภัญญะ จากหมู่บ้านต่างๆ อาทิ บ้านห้วยลึก บ้านโพนทอง บ้านโนนแก้ว บ้านโนนแก้วน้อย บ้านหนองนาคำ บ้านหนองพันทา บ้านป่าไร่ และบ้านโนนโพธิ์ศรี(เจ้าภาพ) และทำโรงทาน ให้ผู้ที่ไปทำบุญได้กิน โดยสร้างความสามัคคีของชาวบ้านในชุมชนรวมถึงการเชื่อมความสัมพันธไมตรีระหว่างวัด สำนักสงฆ์ พระสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา ในงานบุญครั้งนี้ด้วย